เมนู

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น อุปาทานธรรม
และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
5. อุปาทานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
. พึงกระทำ
คำว่า ปรารภ ทั้ง 3 วาระ.

3. อธิปติปัจจัย


[409] 1. อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำอุปาทานธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
อุปาทานธรรม ย่อมเกิดขึ้น มี 3 วาระ เป็นอารัมมณาธิปติ อย่างเดียว.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณากุศลกรรม
ที่ได้สั่งสมไว้ ในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌานแล้วทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา ย่อมยินดี ฯลฯ

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วกระทำมรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ผล ฯลฯ นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทานธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
.
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งกุศลกรรมนั้น เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลทั้งหลายที่ได้สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจาก
ฌาน ฯลฯ.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทานธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิด
ขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรมทั้ง
หลายที่เป็นสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย
.
มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณากุศลที่ได้
สั่งสมไว้ในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทานธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว อุปาทานธรรมและ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูป ที่เป็นอุปาทานธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย,

7. อุปาทานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม
เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ
เป็นอารัมมณาธิปติ
.
พึงกระทำคำว่า ปรารภ ทั้ง 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9) เป็น
อารัมมณาธิปติอย่างเดียว.

4. อนันตรปัจจัย


[410] 1. อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย
.
คือ อุปาทานธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน-
ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 2)
อุปาทานธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่
ใช่อุปาทานธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
อุปาทานธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อุปาทานธรรมทั้ง
หลายที่เกิดหลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
.